จาก “สวนสองแสน” สู่ “โครงการหลวง”
เมื่อ พ.ศ. 2512 โครงการหลวงเริ่มจากการเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในตำแหน่งผู้อำนวยการ โครงการฯ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่าง ๆ มีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน คือ 1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม 2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร 3. กำจัดการปลูกฝิ่น 4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก ไม่ให้สองส่วนนี้รุกล้ำกัน
ร่วมแรงร่วมใจ
ในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง จะมีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี นับเป็นก้าวใหม่ของโครงการหลวง ในการก้าวสู่การเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง มีระบบงานที่ดี ทำให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและเอกชน ก่อเกิดงานวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ในลักษณะโครงการนำร่อง เป็นผลให้เกิดการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาการตลาดผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ส่งเสริมของโครงการหลวง เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนบนที่สูง ตลอดจนมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของพื้นที่ต้นน้ำลำธารบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง จะมีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี รับผิดชอบ ช่างเคี่ยน แม่สาใหม่ อ่างขาง แกน้อย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบ บ้านปางป่าคา ห้วยผักไผ่ ปู่หมื่นใน บ้านใหม่ร่มเย็น ถ้ำเวียงแก บ้านสวด จอมหด สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ รับผิดชอบ บ้านวังดิน(ศูนย์ฯหมอกจ๋ามในปัจจุบัน) ผาหมี สะโง๊ะ เมืองงาม กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบส่งเสริมกาแฟอราบิก้า (ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขาบ้านแม่ลาน้อย) ห้วยฮ่อม บ้านดง ป่าแป๋ รากไม้ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ได้แก่ แอบเปิ้ล ท้อ พลับ และพืชไร่ที่เหมาะสมต่อการปลูกบนเขาสูงได้แก่ ถั่วแดงหลวง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ได้แก่ วัวพันธุ์บราห์มัน ห่าน และแกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ชาวเขายืมพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เหล่านี้ไปทดสอบเพาะปลูกและเลี้ยงดู ถ้าได้ผลก็จะขอคืน
งานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาอาชีพ
อินโฟกราฟิก :มูลนิธิโครงการหลวง
แหล่งอ้างอิง :
มูลนิธิโครงการหลวง. (n.d.). ความเป็นมา. มูลนิธิโครงการหลวง | Royal Project Foundation. เมื่อ 27 เมษายน, 2565, จาก https://www.royalprojectthailand.com/front
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553).
ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.