มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

รางวัลนานาชาติ

      มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อมูลนิธิว่า มูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เปลี่ยนแปลงเป็น มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และได้ดำเนินการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ และเพื่อเผยแพร่พระราชเกียรติคุณ แห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

พระราชทานรางวัลด้วยพระองค์เอง

      รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นรางวัลนานาชาติ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นรางวัลเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลฯ แก่ผู้รับรางวัลฯ ในแต่ละปี ด้วยพระองค์เอง และทรงรับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรก เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และมอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ รวมถึงดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

องค์ประธานและคณะกรรมการ

     องค์ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คือ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งถาวร ส่วนตำแหน่งอื่นมีวาระ 4 ปี ผู้ที่ต้องออกจากตำแหน่งตามวาระ อาจจะได้รับเลือก และแต่งตั้งใหม่ได้ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ ให้มีหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการวางแผนและดำเนินการทั้งปวง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งพิจารณาตัดสิน ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 18 คน และไม่เกิน 29 คน

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีการให้รางวัลเป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 รางวัล คือ

1. รางวัลทางการแพทย์ มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน หรือ วิจัยดีเด่นการแพทย์ อันก่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ
2. รางวัลทางสาธารณสุข มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ
3. รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประกอบด้วย – เหรียญรางวัล – ประกาศนียบัตร – เงินรางวัลๆ ละ 100,000 เหรียญสหรัฐ – ปัจจุบันมอบรางวัลไปแล้วกว่า 90 ราย

เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

อินโฟกราฟิก :มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งอ้างอิง :

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (ก.d.). โครงการ สถาบันราชประชาสมาสัย. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). เมื่อ 23 เมษายน, 2565, จากhttp://km.rdpb.go.th/Project/View/8632

สถาบันวิจัย จัดการความรู้และมาตรฐานการควบคุมโรค. (2552). 16 มกราคม วันราชประชาสมาสัย สถาบันรักษาโรคเรื้อน จากพระราโชบาย ร. 9. วารสารควบคุมโรค , ปีที่ 35(ฉบับที่ 3).

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100