โครงการสะพานพระราม8

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

      ทรงตระหนักถึงปัญหาความแออัดของการจราจรในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และปัญหาเส้นทางในการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังฝั่งธนบุรี ไม่เพียงพอต่อความต้องการเดินทางของประชาชน จึงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างโครงการ สะพานพระราม 8 เมื่อปี 2538 ณ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า โครงการสะพานพระราม 8 เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอนันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีนทร พระเชษฐาธิราช ในหลวงรัชกาลที่ 8 โครงการสะพานพระราม 8 เป็นพระราชดำริให้คลี่คลายปัญหาการจราจรบริเวณทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่าควรสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีกแห่ง เพื่อเชื่อมโครงข่ายการจราจรระหว่างโครงข่ายจตุรทิศฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ากับฝั่งตะวันตก

สร้างด้วยพระหัตถ์

    โดยทรงวาดแผนที่แนวถนนยกระดับถนนอรุณอมรินทร์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ โดยทรงกำชับว่าการก่อสร้างต้องส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด สะพานแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจากถนนวิสุทธิกษัตริย์ฝั่งพระนคร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านถนนอรุณอมรินทร์มาบรรจบกับทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยวบนฝั่งธนบุรี ไม่มีเสาตอม่อกลางแม่น้ำ ความยาว 475 เมตร ถึงเป็นสะพานขึงแบบสมมาตรที่มีความยาวติดอันดับ 5 ของโลก การก่อสร้างสะพานดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2543 ทางสายใหม่ ในที่ที่ไม่มีทาง โครงการที่ 7 ถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี (สายสุทธาวาส) ทรงทอดพระเนตรปัญหาการจราจรหนาแน่นในพื้นที่รายรอบโรงพยาบาลศิริราช และได้มีพระราชดำริให้สร้างทางสายใหม่ขึ้นหลากลายโครงการ โครงการถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี (ถนนสุทธาวาส) เป็นหนึ่งในโครงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มจากช่วงปลายถนนอิสรภาพไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ระยะทางประมาณ 600 เมตร และพระราชทานนามถนนแห่งนี้ตามชื่อวัดในพื้นที่ว่าถนนสุทธาวาส เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่นบนถนนจรัญสนิทวงศ์ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นเสมือนจุดบอดก็กลายเป็นเส้นทางระยะรถจากถนนจริญสนิทวงศ์เข้าสู่ถนนพรานนกได้อย่างลื่นไหล ส่งผลให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวกขึ้น การจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์ที่เคยถึงขั้นวิกฤตก็คล่องตัวขึ้น และประชาชนสามารถเดินทางถึงโรงพยาบาลศิริราชได้อย่างรวดเร็ว บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน นอกจากนี้ยังทรงตระหนักว่าการจราจรด้านฝั่งพระนคร เผชิญวิกฤตเช่นเดียวกัน มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าปัญหานั้นเกิดจากปริมาณรถหนาแน่นมาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และต้องหยุดรอสัญญาณไฟถึง 4 จังหวะส่งผลให้เกิดปัญหารถติดสะสม จึงมีพระราชดำริให้ยกเลิกสัญญาณไฟจราจร และจัดระเบียบการจราจรใหม่ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการขยายถนนหน้ากรมประชาสัมพันธ์ (เดิม) บางส่วนให้ใช้เป็นผิวจราจรได้ และทรงให้เพิ่มช่องทางลงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็น 4 ช่องจราจร และช่องซ้ายสุดให้สร้างเป็นทางวนกลับสู่ถนนเจ้าฟ้า ลอดสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าออกสู่สนามหลวง ทรงมีพระราชดำริให้ขยายผิวจราจรสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนาน สะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขแบบแปลนที่จะปรับปรุง และขยายพื้นผิวจราจรบนสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และก่อสร้างสะพานคู่ขนาน สะพานมัฆวานรังสรรค์ ซึ่งเป็นสะพานที่สร้างไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบนถนนราชดำเนิน พร้อมกำชับให้ผู้ดำเนินการระมัดระวังในการก่อสร้าง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์เอกลักษณ์แห่งศิลปะ และวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ด้วยทรงตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถาน และโบราณวัตถุ อันเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ทางประวิติศาสตร์ของชาติ

อินโฟกราฟิก :โครงการสะพานพระราม8

แหล่งอ้างอิง :

โครงการ สะพานพระราม 8. (n.d.). สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. https://km.rdpb.go.th/Project/View/6650 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.Rama VIII bridge. (2020, January 9). The official website of Tourism Authority of Thailand. https://www.tourismthailand.org/Attraction/rama-viii-bridge

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100