ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : นายพินัย แก้วจันทร์ ยะลา

จุดเริ่มต้อนของความสำเร็จ

     นายพินัย แก้วจันทร์ สมรสกับนางนวพร แก้วจันทร์ มีบุตรชาย 2 คน ได้เริ่มทำเกษตร ทฤษฎีใหม่ เมื่อปี 2538 โดยได้แนวคิดจากบิดา ที่มีนามาตั้งแต่เด็กและสามารถส่งลูกๆ เรียน หนังสือได้โดยไม่มีหนี้สิน อีกทั้งยังได้รับการ อบรมให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน จ่ายเท่าที่จำเป็น กินเอง ทำเอง ปลูกเอง มีรายได้จะไม่เดือดร้อน โดยได้นำแนวที่บิดาสอนตนคือ ทำให้ดู อยู่ให้ เห็น สอนให้เป็น มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และได้น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการ ดำเนินชีวิตอย่างเพียงพอตลอดมา จากจุดเริ่มต้นในการเริ่มงานด้านเกษตร เพื่อปรับเปลี่ยนชีวิตของตนเอง ในการดำเนิน ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเริ่ม จากพื้นที่นา จำนวน 3 ไร่ เพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสาน ไร่นาสวนผสมเป็นรายแรก ของตำบลยุโป ด้วยงบประมาณ 30,000 บาท จนกระทั่งปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 15 ไร่ ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

แรงบันดาลใจในการประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นายพินัยจบการศึกษาจากแผนกช่างกล โลหะ ในปี 2520 และได้เริ่มต้นชีวิตการทำงาน โดยเป็นลูกจ้างของกรมชลประทาน ต่อมาได้ โอนย้ายไปทำงานในกรมทรัพยากรธรณี กระทรวง อุตสาหกรรม และทำงานในเทศบาลนครยะลา ซึ่งรวมระยะเวลาในการทำงานเป็นเวลา 18 ปี ก่อนที่นำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ โดยเริ่มจากในปี 2539 ได้ซื้อที่ดิน 1 แปลง ขนาด 3 ไร่ ซึ่งเป็นที่นาในขณะที่ทำงาน ที่เทศบาลนครยะลา เพื่อวางแผนจัดทำไร่นาสวน ผสม จนได้รับนามว่า “คนบ้าแห่งบ้านยุโป” เนื่องจากในขณะนั้นทุกพื้นที่ของบ้านยุโปจะเป็น ที่นาทุกผืน มีเพียงนายพินัยที่เป็นผู้ริเริ่มพลิก ผื่นนาเป็นการทำไร่นาสวนผสม โดยได้รับแนวคิด จากบิดามารดาของตนซึ่งสามารถเลี้ยงดูบุตร ได้ถึง 6 คน จากการทำนาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จึงเป็นแรงบันดาลใจในการประยุกต์ใช้ให้เห็น ผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

การดำรงตนอย่างพอเพียง

     ความพอประมาณ มีการวางแผน ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากน้อยไปหามาก ลดต้นทุนการผลิตและ พิจารณาตามกำลังและความสามารถของตนเอง เป็นหลัก โดยใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว ไม่มีการจ้างแรงงาน รู้จักใช้จ่ายเงิน ไม่พุ่มเฟือย โดยมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีการ เก็บออมเป็นเงินทุนความมีเหตุผล พิจารณาถึงศักยภาพของตนเองและ ครอบครัว ถึงความจำเป็น ความเป็นไปได้ คิดก่อนทำ มีการวางแผนงาน และการบริหาร จัดการเงินทุนอย่างรอบคอบ โดยมีแนวคิดใน การทำงาน คือ “อดทน สู้งาน หาประสบการณ์ ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ” ใช้เหตุและผลในการ ดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ ครอบครัว มีความอบอุ่น เพราะทำการเกษตรด้วยกัน ตามศักยภาพของครอบครัว ทำให้เกิดการใช้ พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้จักประมาณตน ไม่ทำเกินกำลังความ สามารถของตนเอง มีการออม การวางแผนงาน มีการแบ่งปันและเอื้อเนื้อเผื่อแผ่แก่คนรอบข้าง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือสังคม แปลงพื้นที่เกษตรผสมผสาน มีการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อใช้สอย ไม้ผล พืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา ไก่ โดยปลูกและเลี้ยงทุกอย่างที่กิน เพื่อลดการ พึ่งพาจากภายนอก นายพินัยให้ความสำคัญกับการทำบัญชี ครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญของทุก ครัวเรือน โดยถือว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการปรับเปลี่ยนแนวคิด เป็นสิ่งที่สำคัญ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในศูนย์เรียนรู้ ฯ นอกเหนือจากการการลงมือปฏิบัติจริง

เงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม

ความรู้ เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำรา และ การอบรม ศึกษาดูงาน โดยหมั่นหาความรู้ให้กับ ตนเองอยู่ตลอดเวลาและนำมาปรับใช้ในการ พัฒนาแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยบริหาร จัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ใช้เวลาให้คุ้มค่า และมีการแบ่งปันความรู้ที่ได้รับให้กับผู้อื่น โดยมีปณิธานในการทำงาน “แบ่งรู้ แบ่งใช้ เพื่อถวายในหลวง” นอกจากนั้น นายพินัยเป็นคนใฝ่รู้ สนใจ เรียนรู้อยู่เสมอและนำความรู้มาปฏิบัติจนเกิด ประโยชน์ ก่อการต่อยอดองค์ความรู้ได้จน ประสบผลสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากกระบวนการ ผลิตส้มแขก โดยเริ่มตั้งแต่ขยายพันธุ์จนได้ ผลผลิต นำไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ตากแห้ง กวน เชื่อม เป็นต้น โดยเน้นการ จัดจำหน่ายในรูปแบบที่เป็นสินค้าแปรรูปมากกว่า เนื่องจากสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงกว่า หลายเท่า จนเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการสั่งซื้อจากหน่วยงานราชการภายใน ท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว สกัดเย็น ที่ทำการตลาดในรูปแบบของ OTOP จังหวัดยะลา คุณธรรม ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิต รู้จักเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น โดยมีแนวคิด “มุ่งมั่น ขยัน ประหยัด แนวปฏิบัติที่พ่อสอน มีวินัย ไม่เดือดร้อน เอื้ออาทร ชีวิตพอเพียง”

ผลสําเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
การนำเกษตรแบบผสมผสานมาปรับใช้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมี สามารถ ช่วยลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อใช้วางแผนในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง และเหมาะสม สำหรับด้านครอบครัว สมาชิก ในครอบครัวมีความเข้าใจในแนวทางที่ปฏิบัติ และมีส่วนช่วยโดยร่วมแรงร่วมใจกันทำการ เกษตร ตลอดจนเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ แก่ผู้เข้าอบรมในกิจกรรมต่างๆ และเคยได้ร่วมกับอาจารย์ใหญ่โรงเรียนที่ภรรยารับราชการอยู่ ทำแปลงสาธิตในโรงเรียนให้นักเรียนได้ปฏิบัติ จึงเป็นตัวอย่างแก่ชุมชน และได้ผลผลิตใช้เป็น อาหารกลางวันของนักเรียน ปัจจุบันมีการจัดตั้ง ในรูปของคณะกรรมการเพื่อเป็นวิทยากรในศูนย์เรียนรู้ โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น จำนวน 9 ท่าน มีนายพินัย แก้วจันทร์ เป็นประธาน เพื่อช่วยกันถ่ายทอดความรู้ภายในศูนย์เรียนรู้ฯ โดยมีแนวคิด “อดทน สู้งาน หาประสบการณ์ พึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น”

อินโฟกราฟิก :ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : นายพินัย แก้วจันทร์ ยะลา

แหล่งอ้างอิง :

https://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency/ฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง-47-แห่ง-c37/นายพินัย-แก้วจันทร์-v7661

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100