ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : บริษัท โสมภาส เอ็นจิเนียริ่ง (2005) จำกัด สมุทรปราการ

ประวัติความเป็นมา

      บริษัท โสมภาส เอ็นจิเนียริ่ง (2005) จำกัด เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นแห่งวิกฤติเศรษฐกิจของ ประเทศไทย โดยมีที่ทำการแห่งแรกอยู่ที่จังหวัด สมุทรปราการ ภายใต้ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด โสมภาส เอ็นจิเนียริ่ง แต่ด้วยความเป็นสายเลือด อีสานของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างความเจริญ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ในท้องถิ่นภาคอีสาน จึงได้ตัดสินใจย้ายฐานการ ผลิตมายังบ้านโคกไรใหญ่ ตำบลงัวบา อำเภอ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และนับแต่บัดนั้น ผู้บริหารก็เริ่มเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้ คือ “เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม จะต้องเดิน เคียงคู่กัน” โรงงานโสมภาสฯ เดิมตั้งอยู่บนเนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งประกอบไปด้วย อาคารโรงงาน 2 หลัง และอาคารสำนักงานอีก 1 หลัง โดย โรงงานหลังแรกจะเป็นแผนกกึ่งสำเร็จรูป ผลิต สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อ ส่งต่อไปยังอาคารหลังที่ 2 เพื่อนำไปผลิตต่อเป็น สินค้าสำเร็จรูป โดยมีกำลังการผลิตต่อวัน ประมาณ 90,000 ชิ้น และมีพนักงานทั้งสิ้น กว่า 450 คน ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนองค์กร ให้เติบโตและก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งนับได้ว่าโสมภาสฯ เป็นบริษัทรับเหมาช่วงที่ ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของบริษัทเดลต้าฯ ปัจจุบันโสมภาสฯ ได้ย้ายฐานการผลิต มายังบ้านหัวหนอง ตำบลดอนหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ ซึ่ง สามารถรองรับพนักงานได้มากกว่า 350 คน และ รองรับกำลังการผลิตได้วันละกว่า 50,000 ชิ้น

คุณภาพและมาตรฐาน ระดับสากล

     บริษัท โสมภาสเอ็นจิเนียริ่ง (2005) จำกัด เป็นโรงงานผลิตและประกอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าทั้งหมดจะจัด จำหน่ายให้กับบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานผู้ ออกแบบ วิจัย พัฒนา และผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออกยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของ โลก และเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย สินค้าทั้งหมดของเดลต้าจะถูกส่งออกไปจำหน่ายยัง ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิเช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป และอีกหลายๆประเทศในเอเชีย สินค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ ฟิลเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า โช้ค ขดลวด เส้นตรง และอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร และ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป้าหมายขององค์กรเน้นการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงในท้องถิ่น และ พัฒนาศักยภาพของบุคคลแบบยั่งยืน โดยมี เป้าประสงค์คือ 1 ครอบครัว พ่อแม่ลูกทำงาน ร่วมกัน พัฒนาศักยภาพบุคคล และส่งเสริมการ พัฒนาแบบยั่งยืน มุ่งสู่มาตรฐานสากล  ยุทธศาสตร์ – ปลูกฝังแนวความคิดในการพัฒนา ตนเอง – พัฒนาการทำงานให้เป็นมืออาชีพ – ดำเนินการตามระบบการบริหาร คุณภาพ ISO9001 – อุตสาหกรรมเดินเคียงข้าง เกษตรกรรม

ผลสําเร็จของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

     ประโยชน์จากการน้อมนำปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ㆍ มีการลดการพึ่งพาวัตถุดิบและ เครื่องจักรจากต่างประเทศโดยได้นำภูมิปัญญา ไทยมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ มากกว่า 500,000 บาท/ปี ปัจจุบันมีสัดส่วน การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นร้อยละ 70 และจาก ต่างประเทศร้อยละ 30 ㆍ สามารถพิสูจน์ให้ชุมชนรอบโรงงานได้ ประจักษ์ว่าโรงงานไม่สร้างผลเสียและมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อม ㆍ ดำเนินโครงการด้านสวัสดิการและ สังคม เพื่อพัฒนาพนักงาน ครอบครัวพนักงาน และชุมชนรอบโรงงานอย่างต่อเนื่อง ㆍ สามารถวางแผนแก้ไขปัญหา ขาดแคลนแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ยืดหยุ่นเวลาให้พนักงานสามารถนำกลับไปทำที่ บ้านได้ บริษัท โสมภาส เอ็นจิเนียริ่ง (2005) จำกัด ประกอบกิจการรับจ้างผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากบริษัท เดลต้าฯ แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้วัสดุจาก ธรรมชาติหรือนำเหลือใช้มาดัดแปลง ซึ่งเป็น นวัตกรรมจากภูมิปัญญาไทยมาใช้แทน เทคโนโลยีการผลิตเดิม รวมทั้งมีการควบคุมและ ตรวจสอบสารเคมีที่นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง โดย ส่งตรวจไปยังห้องทดสอบเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่ง เป็นการควบคุมในเรื่องของสารเคมีปนเปื้อน (RoHS) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และดำเนินกิจการการผลิตภายใต้ นโยบายคุณภาพ “คุณภาพดี ส่งมอบตรงเวลา พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความพึงพอใจของ ลูกค้า” พร้อมมีการฝึกฝนพนักงานให้สามารถ ปรับเปลี่ยนหน้าที่การทำงานได้หลากหลาย หน้าที่ เพื่อรองรับความผันผวนจากปัจจัย ภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

นวัตกรรมจากภูมิปัญญาไทย

1. เข็มดึงลวดทองแดง วัสดุที่ใช้ทำไม้ไผ่ (ลำขนาดเล็ก – ใหญ่ ตามลักษณะงานที่ใช้ ด้ามจับความยาวประมาณ 6 นิ้ว ปลายมีความยาวประมาณ 6 นิ้ว ส่วนปลายมีลักษณะเป็นตะขอใช้สำหรับดึงเส้นลวด ทองแดงให้พันรอบคอร์งาน โดยการเกี่ยวคล้องรู ของคอร์ที่ปากกายึดไว้
2. ไม้วัดความยาว-อุปกรณ์ตัดลวดทองแดง ไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 3 เมตร นำไม้ เนื้อแข็งเจาะรูตามระยะของเส้นลวดทองแดงที่ ต้องการตัด โดยมีเหล็กยึดเป็นหลักอยู่สองข้าง โดยนำเหล็กยึดสูงประมาณ 6 นิ้ว ยึดทั้งสองข้าง ในระยะห่างจากจุดกึ่งกลางที่เท่ากัน นำลวดทองแดงที่อยู่ในม้วนมา สอดใส่แกนลวดที่ไม่ใช้ แล้วด้านบน เพื่อช่วยลดการเสียดสีนำลวด ทองแดงมาตัดให้ได้ความยาวตามการใช้งานของ ชิ้นงานรุ่นต่าง ๆ
3. ปากกาจับชิ้นงานเพื่อดึงลวดทองแดง ไม้เนื้อแข็ง ขนาดยาว – สั้นตามลักษณะ งานปากกาเหล็กหนีบโดยใช้แผ่นยางติดไว้ที่ปาก หนีบ เพื่อป้องกันการขูดลวดทองแดงถลอก นำ ไม้เนื้อแข็งหรือไม้หน้าสามมาประกบเป็น ลักษณะตัวหนีบโดยยึดติดกับแผ่นไม้ด้านล่าง เพื่อรองนั่งและเป็นตัวพยุงและรับแรงดึงนำคอร์มาหนีบกับปากกา โดยเว้นระยะครึ่งวงกลมเพื่อ ให้เข็มดึงเส้นลวดทองแดงลอดผ่านได้ สำหรับบางชิ้นงานที่ไม่สามารถดึงได้ด้วย แรงคน บริษัทฯได้ประยุกต์เข็มดึงเส้นลวด ทองแดงจากไม้ไผ่ต่อพ่วงกับเครื่องดึงชิ้นงาน แรงลมซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. หัวใส่เทปกาว วัสดุที่ใช้คือไม้เนื้อแข็ง / กระดาษแข็ง โลหะ มีลักษณะหัวม้วนเทปกาวต่อพ่วง 2 หัว และท่อพีวีซีเป็นตัวยึดแกนกลางของม้วนเทป ซึ่ง สามารถใช้ได้ครั้งละ 2 ม้วน ทำให้ลดเวลาในการ ผลิตลงได้มาก

แหล่งอ้างอิง :

https://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency/ฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง-47-แห่ง-c37/บจก-โสมภาสเอ็นจิเนียริ่ง-v7667

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100