จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
นายสมชาย นิลอนันต์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ปัจจุบันอายุ 69 ปี มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน สมรสกับนางยุพา นิลอนันต์ มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน เดิมนายสมชายมุ่งทําการเกษตร เชิงเดี่ยว ประเภทสวนยางพาราและนาข้าว ต่อมาในปี 2546 ได้เปลี่ยนจากสวนยางพารา มาทําสวนปาล์มน้ํามัน พร้อมด้วยใจรักด้านการเกษตร และเห็นว่าแนวทางการเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทํารายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องออกไปรับจ้างขายแรงงานนอกพื้นที่ในช่วงนอกฤดูการผลิต จึงพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ด้วยตนเองประกอบกับมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนการทําไร่นาสวนผสม และส่งเสริมการปลูกแฝกจึงปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่ไร่นาสวนผสม เพราะถ้าเกิดมีเหตุใดขึ้น จะได้มีตัวช่วยให้อยู่รอดได้ โดยไม่มีผลกระทบจากราคามากนัก ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงพื้นที่ของตนเองที่พอมีอยู่ โดยขุดสระน้ํา ขนาด 3.43 ไร่ จํานวน 1 บ่อ เพื่อให้มีน้ําใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ปลูกไม้ผล พืชผัก และพืชสมุนไพรบนเนื้อที่ 4 ไร่ โรงเลี้ยง เป็ด ไก่ และบ้านพักเพื่ออยู่อาศัยโดยมีรายได้ หลักจากปาล์มน้ํามัน เสริมด้วยการปลูกพืชผักผลไม้เน้นการบริโภคทานเองก่อน หากเหลือจึงแบ่งไปขาย โดยมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเอง ถึงสวน มีรายได้ประมาณวันละ 300-400 บาท
แรงบันดาลใจในการประยุกต์ใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เดิมนายสมชายมีที่ดินจํากัดเพียง 4-5 ไร่ ไม่เพียงพอต่อการทํานา สวนยางหรือ สวนปาล์ม จึงหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับเกษตร ทฤษฎีใหม่ และแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเชื่อว่าการดําเนินชีวิตตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะเป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่ขัดสน และเหลือเงินเก็บออม จึงเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่ไร่นาสวนผสม ทําให้มีรายได้เพียงพอเลี้ยงตนเองและครอบครัว นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ราษฎรได้น้อมนําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปฏิบัติจนประสบความสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมจากแนวคิด “ทําด้วยใจ” ยังมาซึ่ง ความอยู่ดี มีกินของตนเองและครอบครัว และสามารถ เป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นๆ ได้
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555
จุดเริ่มต้นของความสําเร็จ
ความพอประมาณ : มีการทําบัญชีครัวเรือน จัดสรรเงินแบ่งไว้สําหรับลงทุน และเก็บออม โดยใช้เพียงครึ่งหนึ่ง เน้นปลูกพืชผัก ผลไม้สําหรับรับประทานในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนําไปขายโดยไม่เก็งราคา ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ตั้งราคาที่สูงเกินไป ความมีเหตุผล : นายสมชายดําเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง ลดการจับจ่าย คิดก่อนทํา ไม่ทําให้คนอื่นเดือดร้อน ทําในสิ่งที่ เป็นไปได้และไม่ประมาท โดยทดลองการเกษตรทุกอย่างที่หน่วยงานเข้ามาให้การสนับสนุน เช่น หมูหลุม กบ เป็ด ไก่ และพืชผักต่างๆ มีการจัด ทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดว่าทําการเกษตรแบบใดได้ผลคุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด จึงเลือกเลี้ยงและปลูกในสิ่งที่เหมาะสมกับ ภูมิสังคมและศักยภาพของตนเอง การมีภูมิคุ้มกันที่ดี : มีการวางแผนการเพาะปลูก ประเมินตลาดล่วงหน้า เพื่อให้ได้ ผลผลิตและมีรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และเก็บออมเงินส่วนหนึ่งไว้ เพื่อประกันในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับครอบครัวในภายภาคหน้า ความรู้ : นายสมชายมีความพยายาม ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยเข้า รับการฝึกอบรมทั้งด้านการเกษตร การทําบัญชีครัวเรือน เพื่อนําความรู้มาปรับปรุงในการดําเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถเป็นตัวอย่างเผยแพร่ได้ นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่หน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ
ผลสําเร็จจากการประยุกต์ใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปัจจุบัน นายสมชายมีพื้นที่ 12 ไร่ 2 งาน แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย บ่อน้ํา สวนปาล์ม และ แปลงเกษตรผสมผสาน เช่น ชะอม ฝรั่ง สละมะละกอ พริก ดาวเรือง ใบเตยหอม และพืชผัก อื่นๆ มีแผนการปลูกจากการศึกษาตลาด เพื่อให้ได้ผลผลิตไม่ขาดช่วง มีการจัดการพื้นที่ โดยแบ่งเป็น พื้นที่บ่อน้ํา 3.43 สวนปาล์ม 5 ไร่ และแปลงเกษตรผสมผสานประมาณ 4 ไร่ ที่เหลือแบ่งเป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงปลาดุก สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง :
https://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency/ฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง-47-แห่ง-c37/บจก-โสมภาสเอ็นจิเนียริ่ง-v7667