จุดเริ่มต้นของความสําเร็จ
นายบุญเป็ง จันต๊ะภา ผ่านการศึกษา ทํานาอย่างเดียวทําให้มีหนี้สิน ยิ่งทํายิ่งจน ยิ่งมี ระดับนักธรรมโท และได้ไปทํางานที่บรูไนอยู่ 2 ปี หนี้เพิ่มขึ้น จึงเริ่มหันมาทําเกษตรผสมผสาน โดย เหลือเงินเก็บเพียง 2,300 บาท จึงทําให้ เริ่มต้นจากการเลี้ยงปลานิล ปลาดุกในนาข้าว ตระหนักและสํานึกถึงแผ่นดินบ้านเกิดและ เลี้ยงไก่ สุกร กระบือ ปลูกพืชผักสวนครัว และ เศรษฐกิจพอเพียง และได้ตัดสินใจเดินทางกลับ ไม้ผล ในระยะแรกนายบุญเป็ง ให้ความสนใจ มาในปี 2529 โดยเริ่มทําเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก จึงได้เข้าร่วม ปัจจุบันมีที่ดินทั้งหมด 23 ไร่ เดิมเริ่มจากการ การฝึกอบรมกับหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยเคยได้รับการอบรมหลักสูตรทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และนอกพื้นที่ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ และมหาวิทยาลัย แม่โจ้ เป็นต้น นายบุญเป็ง เป็นผู้มีความขยัน รู้จักวางแผนการใช้จ่ายและออมเงิน โดยมีแนวคิดว่า ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก พร้อมกับเป็นผู้ใฝ่รู้ โดยมองว่าการเรียนรู้เป็น การศึกษาตลอดชีวิตไม่มีวันหมด พร้อมกับดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมดุล จากจุดเริ่มต้นในความต้องการปรับ เปลี่ยนชีวิตของตนเอง ในการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายบุญเป็ง ค้นพบว่าตนเองสามารถดําเนินชีวิตอยู่ได้ยึดคติ เป็นลูกจ้างตนเองดีกว่าเป็นลูกจ้างคนอื่น โดยลงแรงทํางานในแปลงทุกอย่างด้วยตนเอง ทําให้มีความมั่นคงทางอาหาร ลดการพึ่งพาจากภายนอก ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลากหลาย โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาดุก ซึ่งนายบุญเป็ง มีทักษะความชํานาญในการเลี้ยง และสามารถ สร้างรายได้หมุนเวียน
แรงบันดาลใจในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
หลังจากใช้เวลาบวชเรียนกว่า 10 ปี จนจบนักธรรมโทและได้เป็นครูสอนนักธรรม ตรี-โท โดยยึดอาชีพทํานาเรื่อยมา แต่ด้วยราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ํา ประกอบกับไม่เคยมีการทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทําให้ประสบปัญหาขาดทุนและมีหนี้สินเกิดขึ้นมาก จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมการ ทําบัญชีรายรับรายจ่ายที่ทางจังหวัดจัดขึ้นให้แก่ เกษตรกรและนํามาลองปฏิบัติด้วยตนเอง จึงเห็นว่าที่ผ่านมามีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เพราะรายได้จากการจําหน่ายผลผลิตมีน้อยกว่า รายจ่ายในเรื่องของยากําจัดแมลงศัตรูพืชที่ใช้ในการเกษตร อันเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้มีหนี้สินมากมาย จึงมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายเสียใหม่ โดยการเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรจากที่เคยทํานาแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการทําไร่นาสวนผสม ลดการพึ่งพาจากภายนอกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและใช้ความพยายาม อดทน ต่ออุปสรรค
การดํารงตนอย่างพอเพียง
ความพอประมาณ ทําการเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์ ตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ด้วยการพึ่งพาตนเองครบวงจร อย่างสมบูรณ์ ด้วยความขยัน อดทน จึงสามารถ ลดรายจ่ายในเรื่องของปัจจัยการผลิตลงได้มาก อาศัยทรัพยากรในแปลงอย่างรู้คุณค่า ทําให้ประหยัดเงินลงทุน มีรายได้ตลอดปีจากการเลี้ยงปลาและขายผลผลิตทางการเกษตร ไม่สร้าง หนี้สินให้เป็นภาระของครอบครัว มีเงินออม ยึดถือธรรมมะเป็นที่ตั้ง จึงไม่เบียดเบียนตนเอง และครอบครัว รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรียนรู้ตลอดเวลาที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในแปลงเกษตร หรือสิ่งของ เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการเลี้ยงผึ้งที่ ใช้ยางรถยนต์และโทรทัศน์ที่ชํารุดแล้วเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้ง ความมีเหตุผล จากประสบการณ์ในอดีตที่เคยยากจนที่สุดถึงกับเคยขอทานกับแม่ ทําให้ชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู้และได้บวชเรียนอยู่ในวัดกว่า 10 ปี จนจบนักธรรมโทได้เป็นครูสอนนักธรรมตรี-โท ขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา ประกอบอาชีพการเกษตรผสมผสานปรับปรุง และพัฒนาแปลงทฤษฎีใหม่อย่างสม่ําเสมอ ทดลองเรียนรู้ด้วยตนเองในกิจกรรมด้านการเกษตรต่างๆ ที่เหมาะสมลงตัวกับสภาพดินและน้ําใช้เหตุและ ผลในการดําเนินชีวิต จนประสบความสําเร็จ ครอบครัวมีความอบอุ่น เพราะทําการเกษตร ด้วยกันทั้ง 4 คน ซึ่งเหมาะสมกับขนาดของแปลง 10 ไร่ ตามศักยภาพของครอบครัวทําให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างมีความสุข และยังถ่ายทอดความรู้ช่วยเหลือสังคมจนได้รางวัลมากมาย การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ครอบครัวมีความขยัน รู้จักเก็บออม ไม่มีหนี้สิน ทําให้การดําเนินชีวิตไม่เดือดร้อนส่วนแปลงพื้นที่เกษตรกรทฤษฎีใหม่ นายบุญเป็งปลูก ทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และยึดถือคติเป็นลูกจ้างตนเองดีกว่าเป็นลูกจ้างคนอื่น โดยลงแรงทํางานในแปลงทุกอย่างด้วยตนเองทําให้มีความมั่นคงทางอาหาร โดยลดการพึ่งพา ภายนอกการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลากหลาย ชนิดในพื้นที่เดียวกันทําให้เกิดการพึ่งพากัน เช่น ได้ร่มเงา มูลสัตว์เป็นปุ๋ยช่วยลดความเสี่ยงขอราคาผลิตแต่ละชนิด ลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ําท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น ทําให้ช่วยชดเชยความเสี่ยงดังกล่าวได้
เงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม
ความรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับความรู้ใหม่ๆที่ได้รับจากการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ และได้ไปศึกษาดูงานอยู่เสมอ จึงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และได้นํามาปรับใช้กับการประกอบอาชีพ พัฒนาแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่โดยบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ครบวงจร ทําให้หน่วยงาน ต่างๆ เลือกแปลงทฤษฎีใหม่นี้เป็นศูนย์เรียนรู้ หรือฟาร์มสาธิตทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง การอนุรักษ์ดินและน้ำ คุณธรรม เมื่อวัยเยาว์เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมบวชเรียนอยู่ในวัดมากกว่า 10 ปี ทําให้มี คุณธรรมและจริยธรรมสูง ไม่เกี่ยวข้องอบายมุขทั้งปวง โดยยึดหลัก อิทธิบาท 4 การดําเนินชีวิตด้วยสัจจะและความกตัญญู
ผลสําเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
ตั้งแต่นําการเกษตรแบบผสมผสานมาใช้ ทําเกิดประโยชน์ร่วมกันโดยที่ไม่จําเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมี เช่น การเลี้ยงปลาในแปลงนาข้าว ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช เพราะมูลของปลาจะเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าว อีกทั้งการเลี้ยงปลาในนาข้าวยังสามารถช่วยทําให้ดินในนากลายเป็นโคลนซึ่งทําให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยากําจัดวัชพืชไปได้ นอกจากนี้ในส่วนของมูลสัตว์อื่นๆ ที่เลี้ยงไว้ ยังสามารถนํามาทําเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการเกษตรโดยไม่ต้อง พึ่งพาสารเคมีจากภายนอก ส่งผลให้สามารถลดรายจ่ายในเรื่องของปัจจัยการผลิตได้มาก นอกจากนี้ยังทําให้รู้จักการทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อใช้วางแผนในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง และเหมาะสมสําหรับด้านครอบครัวสมาชิกในครอบครัวมีความเข้าใจในแนวทางที่ปฏิบัติและมีส่วนช่วยโดยร่วมแรงร่วมใจกันทําการเกษตรตลอดจนเป็นวิทยากรในการให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมในกิจกรรมต่างๆ
แหล่งอ้างอิง :
https://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency/ฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง-47-แห่ง-c37/บจก-โสมภาสเอ็นจิเนียริ่ง-v7667