ปฏิบัติการเพื่อปลดหนี้
ในอดีตพื้นที่บ้านหนองเขื่อนที่นายสำรองอยู่มีแต่ความแห้งแล้ง เพราะปริมาณน้ำยังมีไม่เพียงพอและไม่มีระบบชลประทาน จึงต้องพยายามเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีการใช้จอบขุดสระเก็บกักน้ำหลังจากที่รดน้ำพืชผักเสร็จแล้วและเวลากลางคืนที่นอนไม่หลับหรือคืนเดือนเพ็ญ เผื่อว่าช่วงฤดูฝนใหม่มาจะได้มีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ต่อไป “ลุงรอง” มีพื้นที่ในการประกอบอาชีพด้านไร่นาสวนผสมประมาณ 30 ไร่ แต่เดิมเป็นคนตำบลดอนยาง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ประกอบอาชีพ ทำนาและตาลโตนด เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้ย้ายตามครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองเขื่อน ยึดอาชีพทำนาทำไร่มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2501 – 2540 ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมาหลายครั้งหลายคราแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งทำหนี้สินยิ่งมากทำให้ความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ การใช้สารเคมียังทำให้สุขภาพ ร่างกายย่ำแย่อีกด้วย จนกระทั่งเมื่อปี 2540 เจ้าหน้าที่งานขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริเข้าไปเยี่ยมพร้อมทั้งเชิญชวนให้ลุงสำรอง เข้ามาอบรมเกี่ยวเรื่องการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบและวิธีการปลูกหญ้าแฝก รวมถึงประโยชน์จากหญ้าแฝกในการปรับปรุงบำรุงดิน จึงได้สมัครเป็นสมาชิกศูนย์ห้วยทรายฯ เมื่อผ่านการอบรมแล้วลุงสำรองจึงเข้าใจและได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีหลังจากนั้น มีเจ้าหน้าที่จากหลายๆ หน่วยงานเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางด้านการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานวิชาการเกษตรการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ การพัฒนาและปรับปรุงดิน ตลอดจนการจัดหาแหล่งสำรองน้ำเพิ่มเติม การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ้ยหมักและสารสกัดขึ้นใช้เอง เพื่อลดต้นทุน
ลุงสำรองได้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และต่อมาได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จนทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ จากเดิมที่เคยมีหนี้ก็ค่อยๆ หมดไป ที่เหลือก็เก็บออมไว้ นำมาต่อเติมบ้านที่เคยเป็นกระท่อมมุงหญ้าคา เปลี่ยนมาเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น และต่อเติมเป็นบ้านหลังใหญ่ ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรมและได้รับรางวัลมากมายตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด จนถึงระดับประเทศทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เพื่อนบ้านจึงให้การยอมรับและเข้ามาขอคำปรึกษา ปัจจุบันลุงสำรองเป็นผู้นำและแกนนำที่สำคัญของชุมชน เป็นผู้นำในการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ มีจำนวนสมาชิก 230 ราย มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 7 แสนกว่าบาท กลุ่มสามารถบริหารงานกันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนและสังคมโดยรวม และที่บ้านยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลย์ให้กับชุมชนอีกด้วยทั้งนี้ ได้ขยายผลโครงการส่งเสริมการทำไร้นาสวนผสมแก่เกษตรกรข้างเคียงที่เห็นเป็นรูปธรรม จำนวน 30 ราย
รูปแบบการจัดการพื้นที่เพื่อการเกษตร
เป็นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 30 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ดําเนินการ ดังนี้ บ้านและพื้นที่เพาะปลูกบ้าน, ศาลาเรียนรู้จํานวน 1 ไร่นาข้าว จํานวน 3 ไร่สระน้ำ จํานวน 2 สระ (1 ไร่/สระ)พืชผัก จํานวน 2 ไร่ไม้ผล, พืชไร่ จํานวน 22 ไร่ ปลูกแบบผสมผสานสัตว์เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง จํานวน 40 ตัวไก่ไข่ จํานวน 35 ตัวเป็ดเนื้อ จํานวน 50 ตัวเป็ดไข่ จํานวน 7 ตัวหมูเนื้อ จํานวน 20 ตัวแม่หมู จํานวน 4 ตัววัวพันธุ์ จํานวน 5 ตัวห่าน จํานวน 2 ตัวปลาตะเพียน, ปลานิล, ปลาไน, ปลาแรด และปลายี่สก
กิจกรรมที่ดำเนินการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้โดยไม่ได้ยึดหลักตายตัว หรือตามความเหมาะสม ซึ่งลุงลองได้แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้1. การปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะม่วง มะพร้าว ขนุน มะละกอ ฝรั่ง เก็บผลผลิตขายตามรอบการผลิตของไม้ชนิดนั้นๆ2. การปลูกผัก เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักหวาน สะเดา และผักกินใบอื่นๆ เก็บผลผลิตตามรอบ ปลูกหมุนเวียนกันไป โดยยึดหลักกินอะไร ปลูกชนิดนั้น3. นาข้าว ปลูกนาปี โดยจะมีการปลูกพืชก่อนนาและหลังนา เพื่อเป็นการบำรุงดินอยู่เสมอ4. เลี้ยงสัตว์ วัว หมูหลุม หมูฟาร์ม เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ไก่ไข่ ไก่พื้นบ้าน ปลาชนิดต่างๆ อีก 3 บ่อ5. การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในไร่นา และเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เป็นปุ๋ยน้ำที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆ ของพืชหรือสัตว์ที่สด โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ซากสัตว์เหล่านั้นให้กลายเป็นสารละลายสีน้ำตาลประกอบด้วย1) สารคาร์โบไฮเดรท2) กรดอินทรีย์3) กรดอะมิโน4) กรดฮิวมิก5) น้ำย่อยและฮอร์โมน6) ธาตุอาหารและจุลินทรีย์ ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 1) เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น ใบ2) ส่งเสริมการติดดอกออกผล3) เพิ่มคุณภาพของผลผลิต4) กระตุ้นการงอกของเมล็ด5) เพิ่มการย่อยสลายตอซังพืช6) ป้องกันแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ
แหล่งอ้างอิง :
สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (สํานักงาน กปร.)