มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

      ในปี 2554 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเงินที่ได้รับมาจากทูลเกล้าฯ ถวายโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ให้เป็นทุนประเดิมจำนวน 84 ล้านบาท พร้อมดอกผล จำนวน 1,910,000 บาท รวมเป็นเงิน 85,910,000 บาท สำหรับการก่อตั้งมูลนิธิน้ำ เพื่อสนองพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาเรื่องน้ำ พระราชทานชื่อมูลนิธิน้ำว่าอุทกพัฒน์ชื่อของมูลนิธิอุทกพัฒน์มาจากการนำคำสองคำ คือคำว่าอุทก แปลว่า น้ำและจากคำว่าพัฒนามารวมกัน มีความหมายว่า มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเรื่องน้ำ

เทิดด้วยทำ

      การดำเนินงานของมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นการทำงานแบบ เทิดด้วยทำ คือ การสร้างตัวอย่างความสำเร็จเพื่อเป็นต้นแบบแล้วขยายผลสู่ชุมชนอื่น โดยดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความสุข ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่นคงของน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งให้แก่ชุมชน

      บริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง ชุมชนสามารถพัฒนาตนเอง เรียนรู้และสามารถบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริได้ด้วยตัวเอง เครือข่ายขยายผลสู่ความยั่งยืน ชุมชนเป็นต้นแบบขยายผลตัวอย่างความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เกิดการขยายผลต่อเนื่อง มีศักยภาพสู่ความยั่งยืน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ด้วยการปลูกป่าทดแทน, ดัดแปลงวิธีการปลูกป่าเพื่อการยังชีพของประชากร, ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตร, เพิ่มปริมาณการผลิตต่อพื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด บริหารทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจชุมชน ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และดำเนินงานตามแนวทฤษฎีใหม่ มีปฏิทินการเพาะปลูกสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมขาย มีรายได้และผลผลิตต่อเนื่องตลอดปี แก้ปัญหาน้ำท่วม ด้วยการทำเขื่อนกักเก็บน้ำ, สร้างทางผันน้ำ, ปรับปรุงสภาพลำน้ำ, ทำคันกั้นน้ำ, ระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม, และหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา จัดการน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ โดยวิธีการจัดการน้ำเสียทางชีวภาพ ใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย โดยวิธีทางกลศาสตร์กังหันน้ำชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำแล้ง โดยใช้ตำราฝนหลวง, สร้างอ่างเก็บน้ำ หรือฝายทดน้ำ, ขุดลอกหนองบึง, สร้างประตูระบายน้ำ, ทำสระเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่, สร้างอุโมงค์ผันน้ำ

อินโฟกราฟิก :มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งอ้างอิง :

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ, ท. (2019, December 12). คลังสื่อเผยแพร่. มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://www.utokapat.org/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100