โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ

      โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<br>ในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุ 50 พรรษาในพุทธศักราช2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอพระราชานุญาตจัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ทูลถวาย สมเด็จพระบรมฯ ทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระราชานุเคราะห์ และทรงพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายสัญลักษณ์โครงการ สมเด็จพระบรมฯ ทรงเสด็จเปิดโครงการคลินิกเกษตรฯ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 ณ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้การบริหารการจัดการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแก่เกษตรกรระดับรากหญ้าบรรลุผลสำเร็จ เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถให้บริการตรงตามความต้องการและทันต่อเหตุการณ์ การดำเนินงานคลินิกเกษตรเป็นการบูรณาการวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนาที่ดิน ฯลฯ โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าไปหาเกษตรกร สร้างแรงดึงดูดใจและกระตุ้นให้เกษตรกรตื่นตัว ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของเกษตรกร เพื่อให้บริการทางการเกษตรแก่เกษตรกรตามความต้องการ และความเหมาะสมของพื้นที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เสริมสร้างความรู้และฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมของพื้นที่แก่เกษตรกร สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริม และศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในการรณรงค์ฟื้นฟูเกษตรกร และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน<br>คลินิกเกษตร จัดขึ้นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/จังหวัด

กิจกรรมด้านคลินิก

ได้แก่ การให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยและให้บริการโดยการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ 1.คลินิกพืช (กรมวิชาการเกษตร) โรคและแมลงศัตรูพืช วัชพืช สารพิษตกค้าง การขาดธาตุอาหารพืช วัตถุมีพิษทางการเกษตร 2.คลินิกดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) วิเคราะห์และตรวจสอบดินและปุ๋ย 3.คลินิกสัตว์ (กรมปศุสัตว์) โรคสัตว์ ควบคุมบำบัดโรคสัตว์ ตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ ฉีดวัคซีนสัตว์ 4.คลินิกประมง (กรมประมง) โรคสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ กิจกรรมเสริมสร้าง ความรู้การฝึกอบรมและจัดนิทรรศการที่เป็นความต้องการของเกษตรกรหรือเป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรควรรู้ 5.คลินิกบัญชี (กรมตรวจบัญชีสหกรณ์) การจัดทำบัญชีฟาร์ม 6.คลินิกชลประทาน (กรมชลประทาน) การบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ 7.คลินิกสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) การดำเนินงานด้านสหกรณ์ระเบียบปฏิบัติต่างๆ 8.คลินิกกฎหมาย (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) การดำเนินงานด้านกฎหมายที่ดิน 9.อื่นๆ 10.กิจกรรมสนับสนุนโครงการสายใยรักจากแม่สู่ลูก ได้แก่ 10.1 คลินิกอาชีพเสริมสำหรับแม่ (เพื่อเพิ่มรายได้ของครอบครัว) การแปรรูปอาหาร หัตถกรรม อื่น ๆ 10.2 นิทรรศการเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพูนสุขภาพแม่ลูก (เพื่อโภชนาการของแม่และเด็ก ลดรายจ่ายของครอบครัว) ชุมชนในชนบทชุมชนในเมือง

ติดตามให้บริการต่อเนื่อง

1. สำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับหน่วยงานให้บริการคลินิกเกษตรแต่ละด้านจำแนกกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับบริการออกเป็น 2 กลุ่ม ตามระดับปัญหา คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นรายครัวเรือน โดยหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งหรือหลายหน่วยงานกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่สามารถแก้ไขโดยการช่วยเหลือในภาพรวม หรือช่วยเหลือเป็นรายกลุ่ม/พื้นที่

2. จัดทำโครงการและแผนดำเนินงาน ในการช่วยเหลือร่วมกับเกษตรกรที่เข้ารับบริการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงาน/โครงการออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
2.1 รายครัวเรือน เช่น ด้านพืช ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง
2.2 รายกลุ่มหรือรายพื้นที่ เช่น ด้านดิน ด้านสหกรณ์ ด้านชลประทาน ด้านกฎหมาย

3. ดำเนินการตามแผนการช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้ารับบริการ

4. การให้บริการต่อเนื่องนั้นอาจดำเนินการโดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เป็นกลไกในการดำเนินงาน และให้เกษตรจังหวัดเป็นผู้ประสานงานกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด พัฒนาที่ดินจังหวัด ฯลฯ) ในระดับจังหวัดหรือระดับเขต เพื่อจัดหาแผนการหมุนเวียนการเข้าไปให้บริการกับเกษตรกรในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่เคยเข้ามารับบริการ แต่ละคลินิกเป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้บริการ

อินโฟกราฟิก :โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

แหล่งอ้างอิง :

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศวรรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2561). ผลสำเร็จจากองค์ความรู้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2560.

การขับเคลื่อน “ธัชชา” กลไกสำคัญด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ

ศาสตร์ของพระราชา

ด้านการเกษตร
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านคมนาคมและสื่อสาร
ด้านสวัสดิการและการศึกษา
ด้านสาธารณสุข
ด้านแหล่งน้ำ
ด้านสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา

666 888 0000
isetassha@gmail.com
อ.เมือง จ.เชียงราย
57100