ปัญหาหนักของคนเมืองกรุงนอกจากปัญหาน้ำท่วม
อีกปัญหาหนึ่งที่เรียกได้ว่าสาหัสพอสมควรนั้นคือ ปัญหาการจราจร ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐพยายามที่จะแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อเมืองเจริญขึ้น การเดินทางก็มีมากขึ้น แต่ขนาดของพื้นที่ไม่ได้ขยายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และด้วยปัญหานี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้มีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้เบาบางลง ทรงให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจราจรหลายโครงการได้แก่ โครงข่ายวงแหวนเลี่ยงเมือง แบ่งเป็น โครงการที่ 1 ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงแหวนสายแรก ความฝันที่เป็นจริง โดยพระราชทานแนวพระราชดำริครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นช่วงก่อนที่กรุงเทพฯจะมีปัญหาจราจรเมื่อเช่นวันนี้ ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า เมื่อเมืองขยายตัว การจราจรจะติดขัด และเมื่อรัฐบาลสมัยนั้นใครจัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี มีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนวงแหวนขึ้นแทน ในที่สุดถนนวงแหวนสายแรกมีความยาว 45 กิโลเมตร ประกอบด้วยถนนเดิมที่มีอยู่หลายสาย และถนนที่สร้างขึ้นใหม่ก็กลายเป็นเส้นทางที่สามารถเดินรถเป็นวงรอบกรุงเทพฯโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2536 รวมระยะเวลาสร้าง 23 ปี และพระราชทานนามถนนสายนี้ว่าถนนรัชดาภิเษก เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชน” ขอเถิดอนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่าวงแหวนเพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว เกือบ 40 ปี อยากสร้างถนนวงแหวน พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2536 โครงการที่ 2 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมนี้พระราชทานแนวพระราชดำริ ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 พระราชทานชื่อ สะพานภูมิพลเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก เป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร
มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนส่งสินค้าของรถบรรทุกขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นถนนต่อเนื่องเชื่อมโยงพื้นที่ยานอุตสาหกรรมแและเขตท่าเรือกรุงเทพเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากปรับปรุงถนนหน้าการท่าเรือกรุงเทพต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ไปตามแนวถนนเลียบทางรถไฟสายเก่า ถึงบริเวณจุดตัดกับถนนปู่เจ้าสมิงพราย และเชื่อมโยงกับถนนพระรามที่ 3 ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง โดยรถไม่ต้องวิ่งผ่านตัวเมืองกรุงเทพฯ โครงการนี้ไม่เพียงเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าเท่านั้น หากยังช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรที่คับคั่งบนท้องถนน พร้อมกับการพัฒนาเมืองโดยรอบเพื่อให้ต้นทางกับปลายทางสั้นลง โครงการที่ 3 สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของถนนวงแหวนอุตสาหกรรม มีโครงสร้างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีรูปแบบเสาที่สง่างาม ออกแบบเป็นรูปทรงสีเหลี่ยมข้ามหลามตัด มียอดเสาที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทย โดยได้แรงบันดาลใจมาจากทรงเจดีย์ และชฎาที่งดงาม ส่วนลักษณะทางกายภาพเป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง ไม่มีตอม่อกลางแม่น้ำ ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ และการสัญจรของเรือขนาดใหญ่ ถือเป็นสะพานที่ก่อสร้างได้อย่างสมประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำน้อย มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม และช่วยส่งเสริมทัศนียภาพอันสวยงาม เหมาะสมกับภูมิประเทศในช่วงคุ้มน้ำเจ้าพระยาส่วนที่แคบที่สุดได้อย่างสมบูรณ์ โครงข่ายข้ามเมือง เชื่อมทางสะดวก เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนส่งสินค้าของรถบรรทุกขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นถนนต่อเนื่องเชื่อมโยงพื้นที่ยานอุตสาหกรรมแและเขตท่าเรือกรุงเทพเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากปรับปรุงถนนหน้าการท่าเรือกรุงเทพต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ไปตามแนวถนนเลียบทางรถไฟสายเก่า ถึงบริเวณจุดตัดกับถนนปู่เจ้าสมิงพราย และเชื่อมโยงกับถนนพระรามที่ 3 ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง โดยรถไม่ต้องวิ่งผ่านตัวเมืองกรุงเทพฯ โครงการนี้ไม่เพียงเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าเท่านั้น หากยังช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรที่คับคั่งบนท้องถนน พร้อมกับการพัฒนาเมืองโดยรอบเพื่อให้ต้นทางกับปลายทางสั้นลง โครงการที่ 4 โครงข่ายจตุรทิศ ทรงห่วงใยประชาชนในกรุงเทพฯ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัด และขาดเส้นทางเชื่อมต่อกันระหว่างฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเมือง จึงมีประราชดำริให้ก่อสร้างแนวทางเชื่อมการเดินทางระหว่างทั้งสองฝั่งเมืองขึ้น โดยเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยการก่อสร้างถนน สะพาน และทางเชื่อมทีละส่วนเข้าด้วยกันกระทั่งเป็นโครงข่ายข้ามเมืองโดยสมบูรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ไม่ต้องใช้เส้นทางอ้อม และวนในเมือง อันเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจราจรติดขัด ทั้งนี้แบ่งเป็น ช่วงที่ 1 จากฝั่งตะวันตก บริเวณถนนตลิ่งชัน นครชัยศรี เข้าสู่เส้นทางคู่ขนาดลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ผ่านสะพานพระราม8 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงถนนราชดำเนินสู่จตุรทิศตะวันออก ช่วงที่ 2 เข้าสู่ถนนศรีอยุธยา ผ่านแยกราชปรารภ สู่ถนนเลียบบึงมักกะสัน ช่วงที่ 3 จากถนนเลียบบึงมักกะสัน ต่อนื่องถึงถนนอโศก ดินแดง เข้าสู่ถนนเชื่อมพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ช่วงที่ 4 จากถนนเชื่อมพระราม 9 ถนนเพชรบุรี ต่อจากช่วงที่ 3 และถนนเลียบใต้ทางด่วนพระราม 9 ออกสู่ถนนพระราม 9 เชื่อมสู่ทางหลวงพิเศษสายกรุงเทพ -ชลบุรี