โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งอยู่ ณ บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ พิจารณาช่วยเหลือเรื่องปากท้องของราษฎรในพื้นที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจน ในวันเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพบริเวณหนองอึ่ง ในพื้นที่บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ และมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือราษฎรดังนี้ 1.ให้ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่ง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและแหล่งเพาะพันธุ์ปลา 2.ให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่และสภาพดินโดยรอบหนองอึ่ง ปลูกหญ้าแฝก และต้นไม้เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน 3.ให้ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรวม เพื่อให้คนกับป่าอยู่อย่างเกื้อกูลกัน
โครงการได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้กับประชาชน
โครงการได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้กับประชาชน ในพื้นที่ในหลากหลายมิติด้วยกัน ได้แก่ ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่งและแหล่งน้ำบริเวณโดยรอบ ดำเนินการขุดลอกหนองน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วมีปริมาณเก็บกักน้ำได้ 640,530 ลูกบาศก์เมตร การพัฒนาและปรับปรุงดิน ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดินบริเวณขอบหนองอึ่งและสาธิตการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 7 ตันใน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ตัน สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด รวม 30 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด จำนวน 50 ไร่ การพัฒนาป่าไม้และป่าชุมชน ทำแปลงสาธิตอาหารชุมชนพื้นที่ 16 ไร่ โดยปลูกหวายดง ไผ่ และพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เพาะชำกล้าไม้ 100,000 ต้น จำนวน 30 ชนิด แจกจ่ายให้ราษฎรในพื้นที่ปลูกซ่อมบำรุงป่าเดิม จำนวน 380 ไร่ โดยปลูกต้นไม้ตามแนวเขตป่าชุมชน จัดทำธนาคารอาหารชุมชนในโรงเรียน
ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน 693 คน มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และยังสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้อีกประมาณ 581 ไร่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานสนองพระราชดำริ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ได้ทำการพัฒนาในด้านต่างๆ แล้ว คือ ปรับปรุงและขุดลอกหนองอึ่งให้สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 640,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าโดยรอบหนองอึ่งและ 7 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ พัฒนาและปรับปรุงสภาพดินโดยปลูกหญ้าแฝก รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ และมีศูนย์เรียนรู้ ได้แก่ การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น การพัฒนาด้านการเกษตร <เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น การพัฒนาด้านป่าไม้ เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการ 7 หมู่บ้าน โดยใช้แนวคิด ยโสธรโมเดลที่เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในจังหวัดและภาคประชาชน มาปรับใช้ในการดำเนินงาน โดยจังหวัดยโสธรได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน นอกจากนี้ โครงการยังจะพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนดงมัน จำนวน 3,006 ไร่ และแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์หนองอึ่ง ซึ่งมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศให้ผู้สนใจเดินทางไปศึกษาดูงาน
อินโฟกราฟิก :โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง
แหล่งอ้างอิง :
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร สำนักงาน กปร. (n.d.). โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร. https://www.facebook.com/profile.php?id=100068858874497&sk=photos
จากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งฯ สู่ยโสธรโมเดล. (2021, July 29). สยามรัฐ. https://siamrath.co.th/n/266252 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศวรรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.