พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเคยมีพระราชปรารภว่า…
การเรียนรู้ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่าง ๆ โดยกว้างขวาง เป็นเหตุให้เกิดความรู้ ความคิด และความฉลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต ช่วยให้บุคคล สามารถสร้างประโยชน์สุข สร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ตนเอง ทั้งแก่สังคม และบ้านเมือง อันเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ทุกคนจึงควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ ตามความประสงค์ และกำลังความสามารถ โดยทั่วกัน
สารานุกรมเล่มตัวอย่าง
ทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะให้มีสารานุกรมไทยที่จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้เยาวชนทั้ง เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลางระดับหนึ่ง และเด็กรุ่นใหญ่รวมทั้งผู้ใหญ่ อ่านเข้าใจ ใช้ภาษาเขียนให้เหมาะสมสำหรับเยาวชนแต่ละรุ่น ใช้อักษรขนาดต่าง ๆ กัน โดยเริ่มเรื่องสำหรับเด็กรุ่นเล็กก่อน ตามด้วยรุ่นกลาง ไปจนถึงระดับผู้ใหญ่ เป็นที่มาของการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำสารานุกรมเล่มตัวอย่างขึ้นใน พ.ศ. 2512 หลังจาก คณะกรรมการเข้าเฝ้าฯ ที่พระตำหนักสวนจิตรลดาใน พ.ศ. 2511
7 สาขาแห่งความรู้
หลังการจัดทำสารานุกรมเล่มตัวอย่างใน พ.ศ. 2512 ได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจาก 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแพทยศาสตร์ มาจัดทำสารานุกรมไทยฯ เล่มที่ 1 และได้จัดพิมพ์สำเร็จเป็นรูปเล่มใน พ.ศ. 2516 จำนวน 10,000 เล่ม มีการพระราชทานให้แก่โรงเรียน และห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และมีการจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นทุนในการจัดทำหนังสือเล่มต่อ ๆ ไป
ความรู้ 42 เล่มสู่เยาวชนไทย
จากพ.ศ. 2512 ถึง 2564 โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ได้ผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ออกมาแล้วจำนวน 42 เล่ม นอกจากนี้ยังมี ฉบับเทิดพระเกียรติ “ธรรมิกราชาธิคุณ”, ฉบับกาญจนาภิเษก, ฉบับผู้สูงวัย (ฉบับพิเศษ) และฉบับเสริมการเรียนรู้ อีกด้วย ทั้งนี้ หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 1-11 ได้เลิกผลิตและไม่มีจำหน่ายแล้ว)
ปีที่พิมพ์ (พ.ศ.) 2561
หัวข้อเรื่อง
ดวงอาทิตย์ | อุปราคา | ท้องฟ้ากลางคืน | นก | ปลา | เครื่องจักรกล | พลังงาน | อากาศยาน | ดนตรีไทย จำนวนเรื่อง 9 เรื่อง