พลิกฟื้นดินเสียเป็นดินดี
วันที่ 24 สิงหาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสกับ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการที่ เกี่ยวข้องในจังหวัดนราธิวาส สรุปความว่าด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ ซึ่งพื้นที่ ทั้งหมดประมาณสามแสนไร่ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่หมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้ เนื่องจากดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้มีกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้น เห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกัน แบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชดำริ โครงการแกล้งดิน โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ ทรงพระราชทานพระราชดำริ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี และพืชที่ทำการทดลองปลูกควรเป็นข้าว วันที่ 16 กันยายน 2527 โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3 ปีแล้วหรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับ มาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนั้น ผลงานของเราที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาพอใจ เขามีปัญหาแล้ว เขาก็ไม่ได้แก้ หาตำราไม่ได้ วันที่ 5 กันยายน 2535
ปลูกพืชเศรษฐกิจได้เพราะ “แกล้งดิน”
การแกล้งดิน เป็นการเร่งทำให้ดินเปรี้ยวเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด จนไม่สามารถปลูกพืช เศรษฐกิจได้ จากนั้นหาวิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดรุนแรงที่สุด ให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าวการใช้น้ำล้างความเป็นกรด ในปีแรกข้าวเจริญเติบโต แต่ให้ผลผลิตต่ำ และผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ช่วงเวลาของการขังน้ำ และระบายน้ำทิ้งที่เหมาะสมคือ 4 สัปดาห์ การใส่หินปูนฝุ่น ข้าวเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีกว่า การใส่หินปูนอัตราครึ่งหนึ่งของความต้องการปูน (1.5 ตัน/ไร่) ข้าวให้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใส่ปูนเต็มอัตราแนะนำ การใส่ปูนอัตราต่ำ (ครึ่งหนึ่งของความต้องการปูน) เพื่อสะเทินกรด ควบคู่กับการขังน้ำ แล้วเปลี่ยนน้ำทุก ๆ 4 สัปดาห์ ข้าวจะให้ผลผลิตดีที่สุด 2. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่ พืชผัก ดยใส่หินปูนฝุ่นอัตรา 2 ตัน/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 3. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผลควรขุดยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมและช่วยล้างกรด บนคันดินลงสู่คูด้านล่างควรปรับปรุงดินบริเวณสันร่องก่อน โดยหว่านหินปูนฝุ่นอัตรา 2 ตัน/ไร่ เพื่อสะเทินกรด ก่อนปลูกพืชรองก้นหลุมด้วยปูนขาวหรือหินปูนฝุ่นร่วมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ไม้ผลที่ทดลองปลูกได้ผลดี คือ มะพร้าวน้ำหอม ละมุด กระท้อน ชมพู่ 4. จากการทดลองปรับปรุงดินแล้วไม่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง พบว่าดินจะเปรี้ยวจัดรุนแรงอีก 5. ดินเปรี้ยวจัดในสภาพที่ไม่ถูกรบกวน ความเป็นกรดจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ และพืชพรรณธรรมชาติที่ทนทานความเป็นกรดขึ้นได้หลายชนิด
ทำไม”ดิน” จึงต้องถูก “แกล้ง”
สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราช ฐานและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคใต้ อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เรื่อยมา ทำให้ทรง ทราบว่าราษฎรในพื้นที่แถบจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาหลายอย่าง ประชาชนขาดแคลนที่ทำกิน มีความยากลำบากในการดำรงชีพ พื้นที่ดินพรุที่มีการระบายน้ำออกจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากสารไพไรท์ที่มีอยู่ในดิน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วปลดปล่อยกรดกำมะถัน ออกมามากจนถึงจุดที่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกหรือทำให้ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษา และปรับปรุงแก้ไขปัญหาพื้นที่พรุให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้านอื่น ๆ ได้ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2527 ณ ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจาก พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่อง แกล้งดิน ความว่าให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัดโดย การระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแกล้ง ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัด นราธิวาสโดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ในกำหนด2 ปี และพืชที่ทำการทดลอง ควรเป็นข้าว
“แกล้งดิน” แล้วอย่างไร แล้วแกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร
อินโฟกราฟิก :ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
แหล่งอ้างอิง :
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศววรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2561). ผลสำเร็จจากองค์ความรู้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2560.